AP · โหรอินดี้ · โหราพาเพลิน · โหราศาสตร์ฮัมบูรก์ · Hamburger Hefte · UR

ก่อนจะเป็นนักโหราศาสตร์ มันต้องมีจุดเด่นที่บอกได้!

Behauptung und Beweis in der Astrologie จุดที่บ่งบอกความเป็นนักโหราศาสตร์

เขียนบทความโดย Udo Rudolph

เมื่อนักโหราศาสตร์ลงมือทำงาน เขาจะต้องพิสูจน์และหาเหตุผลในเชิงวิชาการให้พวกนักวิทยาศาสตร์ยอมรับ ฉันเชื่อว่าพวกเราควรมีการตั้งข้อสันนิษฐาน ที่จะทำให้นักวิชาการหันมาสนใจนักโหราศาสตร์เพื่อที่นำไปสู่การพิสูจน์ว่า การตั้งข้อสันนิษฐานภายใต้สมมติฐานนั้นๆมีอยู่จริง

“Sum บ่งบอกถึงแก่นภายใน และHalfsum เป็นสิ่งภายนอก” Hermann Lefeldt เป็นผู้กล่าว

นี่เป็นสมมติฐานที่นาย Lefeldt ได้กล่าวทิ้งไว้ ซึ่งยังไม่ได้มีการพิสูจน์ต่อข้อสมมติฐานนี้ ก่อนหน้านี้สักประมาณ1-2 ปี ฉันได้ค้นหาความหมายที่เกี่ยวพันกันระหว่าง a/b a+b เพื่อที่จะ
ให้วงการโหราศาตร์มีการพัฒนาในแง่ของการปฏิบัติ ซึ่งในจุดนี้ได้มีการพูดถึงเรื่องของ “ความสมดุล” ระหว่าง Sum และ Halfsum หรือจะเป็นในเรื่องของด้านใน-ด้านนอก, ซ้าย-ขวา,
ทั้งสองส่วนเป็นส่วนที่เกี่ยวข้อง เอื้อๆกันอยู่ หรือเราจะเรียกได้ว่า “เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน” หรือ”ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน”

ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ ก็ยังมีเป็นระดับขั้นต่อๆไปอีกเช่นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวในขั้นแรก ชั้นกลางและชั้นปลาย เปรียบเหมือนกับจุด Achsen ในดวงชะตา ที่เราสังเคราะห์ทั้ง
พื้นดวง โค้งอายุและโค้งจรให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(หากจะตั้งสมมติฐานโดยใช้เพียงโค้งอายุหรือโค้งจร นั่นเป็นสิ่งผิด และคุณจะหลุดจากเป้าหมายทันที) เพราะมันมีความแตกต่างใน
เรื่องของระดับเวลาจากพื้นดวง (Natal)สู่โค้งอายุ(Direction)และจากโค้งอายุถึงโค้งจร(Transit) เราจึงต้องให้ความสำคัญแก่ “การรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” เพราะมันเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการทำงานของนักโหราศาสตร์

เมื่อฉันต้องการหาคำตอบให้ตรงประเด็นกับโจทย์ทุกๆครั้งที่ฉันวิเคราะห์ดวง ฉันจะใช้ภาพดาว(Planeterary)จาก HalfsumและSum เป็นหลัก
ตัวอย่างเช่น ในเรื่องของการวิเคราะห์จุดการตาย ฉันจะตั้ง MA/SA ,MA/SAv, MA+SA, MA+SAv กลับไปมาให้ครบทั้งสามวง คือทั้ง Natal ,Direction, Trans เพราะหากเราจะหาเพียงแค่ Natal กับ Direction นั่นยังมีน้ำหนักไม่เพียงพอที่จะหาผลลัพธ์

เพื่อที่จะได้คำตอบหรือให้คำตอบกับลูกค้าอย่างตรงประเด็น ดังนั้นในการตั้งสมมติฐานจาก Sum หรือ Halfsum จึงต้องอาศัยกฏเหล็ก”ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน”

ที่มา:Hamburger Hefte III/91 Page 40

ปล. เป็นบทความที่เคยแปลไว้เมื่อวันที่ 9 เดือน 9 ปี 2009

Continue reading “ก่อนจะเป็นนักโหราศาสตร์ มันต้องมีจุดเด่นที่บอกได้!”